'พุทธศิลปิน' (บทความชื่นชม สุวัฒน์ แสนขัติยรัตย์ จากสูจิบัตร 'ธรรมปรัชญา - เทวานุภาพ') โดย พจนีย์ ตีระวนิช (ส.ค. ๒๕๕๐)

พุทธศิลปิน

สุวัฒน์ แสนขัติยรัตน์
ผู้ปลุกเร้าศิลปินแนวประเพณี


     ในยุคสมัยที่คนไทยเราถูกครอบงำและมอมเมาด้วยวัตถุ กลายเป็นยุควัตถุนิยมตามความต้องการของต่างชาติ และนักธุรกิจที่ต้องการกำไรจากสินค้าที่เขาผลิต เราลืมความเป็นพุทธศาสนิกชนไปเสียสิ้น ลืมหลักการใช้ชีวิตตามหลักพุทธศาสนา หันมาเสพและเป็นทาสของสินค้าที่เกินความจำเป็นของความเป็นมนุษย์ ตั้งหน้าตั้งตาหารายได้ เพื่อมาจับจ่ายสิ่งฟุ่มเฟือยตามค่านิยมที่คิดว่าดี ทำให้มนุษย์ต้องเหน็ดเหนื่อยในการแก่งแย่งหารายได้ ต้องช่วงชิง อิจฉาริษยา และกลั่นแกล้ง โดยใช้วิธีสกปรกนานาประการ แต่ศิลปินบางคนคิดว่าพุทธศิลป์จะช่วยเตือนสติ และโน้มน้าวให้มนุษย์หยุดคิด หยุดพิจารณาด้วยสติปัญญาอันมีติดตัวมาทุกผู้ทุกนาม นอกจากนั้นยังได้เสพความงามอันสงบร่มเย็นในจิตใจ ต่างจากความร้อนทุรนทุรายเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ต้องการ อาจารย์สุวัฒน์ แสนขัติยรัตน์ พุทธศิลปินคนนี้เป็นผู้ศรัทธาในพุทธศาสนามาตั้งแต่ยังอายุน้อยๆ ปฏิบัติธรรมมานาน และหวังจะนำเอาความร่มเย็นของพระพุทธศาสนา มาดับเพลิงกิเลสเหล่านั้นบ้างไม่มากก็น้อย



อ.สุวัฒน์ สมัยเรียนอาชีวะฯ เชียงราย



ผลงานวาดเส้น อ.สุวัฒน์ สมัยเรียนอาชีวะฯ เชียงราย
สืบสานงานศิลป์ ถิ่นบรรพบุรุษ

     อาจารย์สุวัฒน์ แสนขัติยรัตน์ มีเชื้อสายช่าง หรือที่ชาวล้านนาเรียกว่า "สล่า" คุณตาของเขาเป็นช่างแกะสลักไม้ที่มีฝีมือ สร้างโบสถ์วิหารตามวัดทางภาคเหนือ  โดยเฉพาะวัดในอำเภอพานหลายวัด สำเร็จด้วยน้ำมือของคุณตา ท่านมีกุศโลบายที่จะให้หลานมีใจใฝ่ศึกษางานช่าง ท่านจึงให้หลานช่วยทำงานในส่วนที่เด็กสามารถทำได้ เช่น ทาน้ำมันขี้โล้ลงบนแม่พิมพ์ หรือให้ทำงานแกะสลักง่ายๆ เช่นลายดอกพุดตาน ลายรักร้อย และลายประจำยาม เป็นต้น ท่านให้ค่าขนมเป็นรางวัล วันละ 2 บาท (ในสมัยนั้น ก๋วยเตี๋ยวชามละ 50 สตางค์) เปรียบเทียบกับสมัยนี้ (พ.ศ. 2551) ก็ประมาณ 80 บาท ทำให้เขาได้เรียนรู้และรักงานศิลปะ แม้เมื่อเติบโตขึ้น ไปศึกษาศิลปะที่เพาะช่างแล้ว ยามปิดเทอมก็กลับมาช่วยงานของคุณตา คราวนี้ไม่ใช่แค่ลูกมือ แต่คุณตาให้เป็นนายช่างใหญ่เลย ให้โอกาสขึ้นลาย เช่นลายหน้าบันและซุ้มประตูต่างๆ ได้ค่าจ้างจากคุณตาครั้งละหลายพันบาท กว่าจะเปิดเทอมก็ได้เป็นหลักหมื่น มากพอที่จะเป็นค่าเล่าเรียนและอุปกรณ์การเรียนได้ เขารู้ว่าคุณตาให้ค่าจ้างมากกว่าเนื้องาน เพราะท่านต้องการสนับสนุนการเรียน และรู้ว่าการใช้ชีวิตในกรุงเทพฯ มีค่าใช้จ่ายสูง ท่านรักศิลปะและอยากถ่ายทอดความรู้  "จากรุ่นสู่รุ่น" ด้วย ปัจจุบันท่านบวชเป็นพระมานานหลายปีแล้ว และประกาศว่าจะขอตายในผ้าเหลือง ท่านยังคงทำงานศิลปะถวายวัดอยู่ เช่นสร้างพระธาตุเจดีย์ รวบรวมสร้างเจดีย์และวิหารวัดอื่นๆ ด้วย จัดได้ว่า ท่านเป็นสถาปนิกแบบชาวบ้านล้านนา ส่วนคุณพ่อของอาจารย์สุวัฒน์ ท่านเป็นคนค้าขาย มีร้านของชำที่ใหญ่ที่สุดในตลาดใหญ่ในอำเภอพาน ท่านทำงานศิลปะและเล่นดนตรีพื้นเมืองเป็นงานอดิเรก ท่านเล่นซึงเก่ง เครื่องดนตรีของท่าน จะต้องไม่ธรรมดา ไม่เหมือนใคร ท่านแกะสลักซึงทั้งตัวเป็นรูปร่างต่างๆ สวยงามมาก ความชอบใน ความต่างที่ไม่ธรรมดานั้นได้ซึมซับลงในหัวใจของเด็กน้อยคนนี้โดยไม่รู้ตัว เขาจึงมีนิสัยที่ชอบความงามที่เป็นพิเศษ ต่างจากคนอื่นๆ และ นำความต่างนั้นออกมานำเสนอ ในรูปของศิลปะนานาที่เขาสร้างในอนาคต นอกจากคุณพ่อจะแกะสลักเครื่องดนตรีแล้ว ท่านยังชอบสลักดอกกุหลาบ วาดรูปอื่นๆ ด้วย คุณพ่อวาดรูปลงบนกระดาษเทา-ขาว ท่านไม่เคยเรียนศิลปะ แต่เคยบวชเป็นพระมานาน จนชาวบ้านเรียกขานว่า "พ่อหนาน" (วัฒนธรรมของล้านนา หากชายใดบวชพระนานหลายพรรษา เมื่อสึกออกมาเขาจะเรียกว่า "หนาน" ถ้าบวชเณรแล้วสึกออกมา เขาเรียกว่า "น้อย") ท่านอยู่วัดนานจนซึมซับความงามจากภาพจิตรกรรมฝาผนังบ้าง ประติมากรรมต่างๆ บ้าง จึงสามารถทำงานศิลปะได้ อ.สุวัฒน์ เห็นท่านทำสิ่งสวยงามต่างๆ เขาก็อยากทำตามบ้าง เป็นสาเหตุที่ทำให้เขาอยากเข้ามาเรียนศิลปะในกรุงเทพฯ

ครอบครัวไม่สนับสนุน ต้องใช้ทุนตนเอง

     คุณพ่อของอาจารย์สุวัฒน์ ท่านอยากให้ลูกมีอาชีพอย่างอื่นที่ไม่ใช่ศิลปิน แม้ว่าท่านเองก็เคยเห็นศิลปินที่ประสบความสำเร็จ แต่ก็ยังมีความเห็นว่าอาชีพแพทย์ หรือตำรวจเป็นอาชีพที่ยั่งยืนและเป็นหน้าเป็นตา อย่างน้อยอาชีพค้าขายก็ยังดี จะได้มีคนสืบทอดกิจการของท่าน เมื่ออาจารย์สุวัฒน์ขอเรียนศิลปะในระดับ ปวช. ท่านก็ยังอนุโลมให้เรียนได้ แต่หลังจากนั้น เมื่อเขาขอเรียนระดับปริญญาตรี ท่านไม่ยอมให้เรียน ท่านอยากให้ค้าขายแทนท่าน ท่านจะยกกิจการและทุกอย่างให้ หรือไม่ก็ต้องเรียนอย่างอื่น อาจารย์สุวัฒน์ปฏิเสธ คุณพ่อยื่นคำขาดว่าถ้าจะเรียนศิลปะก็ต้องส่งตัวเองเรียน ทำให้เขาต้องจำใจขายสร้อยทองแสนรักที่แม่ให้ก่อนจะเสียชีวิต ขายมอเตอร์ไซด์ที่หามาด้วยน้ำพักน้ำแรง บวกกับรายได้ที่ทำงานเพ้นท์สีนกที่แกะสลักด้วยไม้ เพื่อใช้เป็นทุนในการเรียนศิลปะที่กรุงเทพฯ ตอนนั้นเขาใช้สีอะคริลิคเป็นแล้ว รู้จักศิลปิน ยอดชาย ฉลองกิจสกุล ผู้เป็นศิลปินที่จุดประกายในการทำงาน เขาจึงมีความมุ่งมั่นที่จะเรียนศิลปะอย่างมั่นคง เขารวบรวมเงินทองเท่าที่จะหาได้แล้วพาตนเองเดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อสมัครสอบเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยศิลปากร แต่ในสมัยนั้นการสอบเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย ใช้สนามสอบหลายแห่ง ทำให้เด็กต่างจังหวัดอย่างเขาต้องผิดพลาดในการสอบ เพราะสนามสอบบางแห่ง เขาไม่รู้จัก แม้จะพยายามไปแล้วก็ยังไปไม่ถูก จึงทำให้สูญคะแนนในวิชานั้นไปอย่างน่าเสียดาย เงินที่มีอยู่ก็ใกล้จะหมด จึงตัดสินใจสอบที่เพาะช่าง เพราะสอบที่เดียว รวดเดียวจบ และก็ได้เข้าเรียนที่นั่นสมใจ ระหว่างเรียนเขาต้องเช่าอพาร์ตเม้นท์อยู่ ในรั้วเพาะช่างเขาได้ครูช่างที่ดี คือ อาจารย์สมปอง อัครวงษ์ และ อาจารย์สุดสาคร ชายเสม ทำให้เขาได้พื้นฐานที่ดี ความลำบากกลับทำให้เขามีโอกาสได้ฝึกฝนฝีไม้ลายมือมากกว่าคนอื่น เขาต้องเขียนรูปส่งแกลเลอรี่ รับจ้างทำการบ้าน ฯลฯ เพื่อนำเงินที่ได้มาเป็นค่าเรียน ค่าอาหารและที่พัก เมื่อแรกเข้าเรียน เขาไม่เก่งที่สุดในห้อง แต่เมื่อทำงานหาเงิน ต้องวาดรูปมากมาย ขยันที่สุด สถานการณ์ทำให้ เขาเก่งโดยไม่รู้ตัว แต่เขาไม่หยุดอยู่แค่นั้น เขาพยายามคิดนอกกรอบ พัฒนาแนวไทยโบราณให้เป็นแบบเฉพาะตนมากขึ้นจนเป็นอัตลักษณ์แห่งตนเอง บางครั้งอาจารย์ท่านไม่เห็นด้วย แต่ก็ชอบใจที่ศิษย์มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
     เมื่อศึกษาจบระดับ ปวส. จากเพาะช่างแล้ว เขาได้เรียนต่อระดับปริญญาตรีที่ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญญบุรี) ในสาขาวิชาครู ไม่ได้เรียนสายตรง ในช่วงนั้นได้เรียนกับอาจารย์ที่มีความสามารถหลายท่าน

ประทับใจอาชีพครู เพราะความรู้ท่านให้มา

     ย้อนไปเมื่อครั้งยังเด็ก อาจารย์สุวัฒน์ มีความประทับใจในอาชีพครูศิลปะ เพราะ อาจารย์แก้ว จันทคราส อาจารย์สอนศิลปะที่สำเร็จการศึกษา จากวิทยาลัยช่างศิลป กรมศิลปากร ท่านเป็นชาวเวียงป่าเป้า เป็นอาจารย์ที่โรงเรียนพานวิทยาคม ที่อาจารย์สุวัฒน์เรียนจบจากที่นั่น อาจารย์แก้วเป็นตัวอย่างของครูผู้เสียสละ และพยายามผลักดันนักเรียนที่มีแววเป็นศิลปินในอนาคต ท่านสอนพิเศษวิชาศิลปะในวันเสาร์ - อาทิตย์ โดยไม่คิดค่าสอน ท่านจึงไม่ได้พักผ่อนในวันหยุดเหมือนคนอื่นๆ ภรรยาของท่านชื่อ อาจารย์ลัดดา จันทคราส ก็สนับสนุนสามีให้ทำงานเพื่อสังคม ท่านทำอาหารเลี้ยงเด็กๆ ที่มาเรียนด้วย บางครั้งอาจารย์แก้วก็พาศิษย์ไปเขียนรูปนอกสถานที่ เพื่อให้มีความชำนาญในการเขียนในสถานที่จริง บางทีท่านรับงานพิเศษ ให้ศิษย์มาช่วยงาน ท่านแทบจะไม่มีกำไร เพราะให้เป็นค่าแรงศิษย์หมด นอกจากนั้นท่านยัง ส่งผลงานของอาจารย์สุวัฒน์ไปประกวดบนเวทีต่างๆ การประกวดครั้งแรกของเขาคือ การประกวดภาพที่ประดิษฐ์จากแสตมป์ ของการสื่อสารแห่งประเทศไทย ได้รางวัลที่  1 เงินรางวัล 3,000 บาท เป็นเงินก้อนโตในสมัยนั้น แต่ด้วยความเป็นเด็กไม่มีโอกาสที่จะเดินทางมารับรางวัล ทางการสื่อสารฯ จึงส่งตั๋วแลกเงินและใบประกาศเกียรติคุณมาให้ที่โรงเรียน การประกวดครั้งนั้นทำให้หัวใจของ ด.ช. สุวัฒน์ พองโต เขาได้ประจักษ์ว่า "ศิลปะนำทางชีวิตได้" เพื่อนๆ ก็ยกให้เขาเป็นผู้นำทางด้านศิลปะ เขาซึมซับอารมณ์นี้ และอยากจะเป็นผู้นำด้านศิลปะในอนาคตด้วย อาจารย์แก้วยังส่งผลงานของเขาไปประกวดที่ประเทศตุรกี ด้วยทุนของท่านเอง ท่านทำทุกอย่างเป็นวิทยาทาน ปัจจุบันท่านได้รับ โล่เกียรติยศแห่งความเป็นคนดีในระดับจังหวัด รายการทีวี "แผนที่คนดี เรื่องดี" ทางช่อง 5 ก็มาสัมภาษณ์ท่านออกอากาศ และพิมพ์เรื่องของท่านลงใน "หนังสือ แผนที่คนดี เรื่องดี" รายการนี้ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล หวังที่จะเผยแพร่คนดีให้เป็นตัวอย่างแก่สาธารณชน

     เมื่อไม่นานมานี้ท่านได้มาเยี่ยมแกลเลอรี่ของอาจารย์สุวัฒน์ที่คลอง 11 ท่านกล่าวว่าท่านภาคภูมิใจมากที่นักเรียนตัวเล็กๆ ของท่านได้ก้าวมาเป็นศิลปินแนวหน้าของไทย และยังมีโอกาสที่จะก้าวหน้าไปได้อีกไกล ด้วยเหตุที่มีครูดีเช่นนี้ อาจารย์สุวัฒน์จึงมีทัศนคติคติที่ดีต่ออาชีพครู ทำให้เขาเลือกเรียนครู และเมื่อจบปริญญาตรีแล้วเขาก็เลือกที่จะสอนที่นั่นจนถึงปัจจุบัน แม้เมื่อเริ่มมีชื่อเสียงจากผลงานที่เป็นที่ยอมรับและมีผู้สะสมมากขึ้นเรื่อยๆ ผู้รู้หลายท่านแนะนำให้เขาลาออกจากอาชีพครู มาทำงานศิลปะเต็มตัวเต็มเวลา แต่ เขาก็ยังยึดมั่นในอุดมการณ์ เขาคิดว่าอาชีพนี้ยังประโยชน์สูงสุดต่อสังคม  และคนรุ่นหลัง หากเขาลาออกไปเป็นศิลปินอาชีพแต่ไม่ได้ทำประโยชน์ให้ใคร เขาก็จะขาดความสุขในส่วนที่ได้ให้อะไรแก่สังคมนั้นไป อย่างไรเขาก็ยังรักอาชีพครูอยู่

ศิลปินหนุ่ม ในกลุ่มศิลปินใหญ่

     ในระหว่างนั้นเขาได้รู้จักศิลปินมีชื่อเสียงในจังหวัดเชียงราย มีโอกาสร่วมกิจกรรมด้วยกันหลายอย่าง เช่น เมื่อครั้งสมเด็จพระเทพฯ เสด็จไร่แม่ฟ้าหลวง อาจารย์ถวัลย์เป็นแม่งาน ทำกิจกรรมรับเสด็จด้วยการ เขียนลายให้เหมือนสักยันต์ลงบนร่างกายของทหาร จำนวน 7 คน เป็น สัตบริภัณฑ์ หมายถึงภูเขาทั้ง 7 ลูกในจักรวาล หน้าหนาวทหารต้องถอดเสื้อให้เขียน ความหนาวทำให้ขนลุก ภาษาล้านนาเรียกว่า "ตุ่มหนาว" ในการนั้นระดมช่างฝีมือซึ่งส่วนใหญ่ เป็นอาจารย์จากหัวเมืองเหนือมาทำงาน เทิดไท้สมเด็จพระเทพฯ ขณะนั้นอาจารย์สุวัฒน์ ยังศึกษาอยู่ เป็นนักเรียนคนเดียวในหมู่ศิลปินใหญ่ ทำการเขียนลายสักยันต์ลงบนตัวทหารทั้งตัวในตอนกลางคืน เพื่อรับเสด็จพระองค์ท่านในตอนเช้า งานในครั้งนั้นเป็นความประทับใจที่ได้ร่วมงานกับศิลปินใหญ่ ได้ใกล้ชิด ได้เรียนรู้ และได้รู้จักคุ้นเคยกับท่านเหล่านั้น อันนำมาซึ่งความเมตตาให้ความรู้อันยิ่งใหญ่กับเขาในภายหลัง



อ.สุวัฒน์ เมื่อครั้งร่วมเขียนลายสักยันต์บนร่างกายทหาร



อ.สุวัฒน์ และ อ.ถวัลย์ ดัชนี



พิธีเปิดนิทรรศการ "พุทธปรัชญา - พุทธานุภาพ" ในปี พ.ศ. 2546
ขอความรู้ครูบาฯ เพื่อพัฒนาฝีมือ

     แม้ว่าในระหว่างที่ อ.สุวัฒน์ ศึกษาในระดับปริญญาตรีกับอาจารย์ที่มีฝีมือเป็นเลิศหลายท่าน แต่เขาก็ยังอยากจะได้ความรู้จากศิลปินใหญ่ที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง  มาเติมเต็มอะไรบางอย่างที่เขายังค้นไม่พบ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะเขาเรียนทางสายครู รักอาชีพครู ไม่ได้เรียนสายตรงซึ่งในช่วงนั้นก็ไม่มีสายตรงในภาควิชาศิลปะไทย เขาจึงตัดสินใจเขียนจดหมายขอเข้าพบ อาจารย์ถวัลย์ ดัชนี ท่านจำเขาได้ แต่เขาเขียนนามสกุลท่านผิด เขียนเป็น "ดรรชนี" ในวันที่นัดพบ ท่านจึงให้เขาคัดนามสกุลของท่าน 1,000 จบ เขาก็คัดแต่ยังไม่ถึง 1,000 จบ ท่านคงสงสารจึงให้คนมาบอกเขาเข้าไปพบ

     ท่านนัดให้ไปพบเวลา 9.00 น. เขาคิดว่าต้องมาให้ตรงเวลา ถ้าไม่ตรงเวลาหรือไม่ได้นัดล่วงหน้า ท่านจะไม่สนใจ ดังเช่นนักการเมืองบางคน เครื่องบินดีเลย์ ก็ขอมาพบท่าน อยากซื้อรูป ท่านไม่ให้พบ ทั้งๆ ที่ถ้าท่านให้นักการเมืองเข้าพบก็จะได้เงินจากการขายรูป ท่านเลือกที่จะพบอาจารย์สุวัฒน์ ตามที่นัดไว้แทนเพราะอยากให้ความรู้ จนเมื่อพบกันแล้วท่านก็ให้ความรู้ ท่านเลคเชอร์ เขาอัดเทป จด ใช้สมองมาก เขาเล่าว่า ความรู้ของท่านมาก ท่านเป็นปราชญ์ เขาก็รับเท่าที่จะทำได้ ท่านพาเขาไปดูแรงบันดาลใจ, หนังสือต่างๆ และรูปที่ท่านศึกษา ท่านมีประสบการณ์สูงมาก เดินทางหลายประเทศ ท่านชี้นำวิธีคิด ท่านสอนให้รู้ว่า เส้นทำงานอย่างไร สีทำงานอย่างไร แต่ท่านทำงานที่มีสีน้อยชิ้น วิชาอย่างนี้ไม่มีสอนในมหาวิทยาลัย ท่านทำงานถึง 8 ชั่วโมงในหนึ่งวัน ทั้งที่อายุของท่านก็ไม่ใช่น้อยๆ แล้ว ท่านยังเมตตาพาเขาไปดูบ้านที่เชียงรายทุกหลัง พาไปค้นข้อมูล บ้านที่ดำนางแลมี 16 หลัง เข้าไปดูทุกหลัง ท่านดูแลเลี้ยงอาหารทั้ง เที่ยง - เย็น - ดึก พอดึกอากาศเย็นมาก ท่านอนุญาตให้ค้าง แต่เขาไม่ค้าง 3 ทุ่มยังคุยงานกันอยู่ ก่อนกลับมีคุกกี้อันใหญ่ยักษ์ เท่าถาด กับนมสด ปกติเขาไม่ดื่มนมสด จะอาเจียน แต่ในวันนั้นเขาซาบซึ้งใจในความกรุณาของศิลปินแห่งชาติท่านนี้ โดยเฉพาะคำพูดของท่านที่ว่า "อยากสอนคนที่ตั้งใจจริง  คนไม่ตั้งใจจริงสอนไปก็เปลืองน้ำลาย" เขาจึงต้องดื่มให้หมด (เวลาเขาไปประเทศฝรั่งเศส เขาดื่มนมไม่ได้ อาหารฝรั่งหลายๆอย่าง  เขารับประทานไม่ได้ จึงรับประทานแต่ไข่กับผลไม้ นอกนั้นทิ้งหมด บางมื้อคิดเป็นเงินไทยถึง 400 บาท) ความรู้ที่ได้ในวันนั้นเป็นสิ่งที่มีค่ามหาศาล และมีความหมายต่อเขาอย่างยิ่ง แม้ปัจจุบันนี้ เมื่อเขามีปัญหาติดขัดไม่ว่าจะเป็นในด้านทัศนคติ เนื้อด้านเหาของงาน ด้านเทคนิค หรือด้านสังคม เขาจะนำเทปที่อัดเสียงอาจารย์ถวัลย์มาเปิดฟัง เพื่อทบทวนสิ่งที่ท่านสอนไว้ แล้วปัญหาเหล่านั้นก็คลี่คลายไปได้
     หลังจากนั้นอีกหลายปี เขาไปขอความรู้จาก อาจารย์ประเทือง เอมเจริญ เขาเล่าว่าท่านเป็นผู้มีชื่อเสียง แต่ท่านติดดินมาก ไม่ถือตัว ไม่หยิ่งผยอง ทำตัวปกติ ท่านให้ความรู้แก่เขาอย่างมหาศาลในเรื่องสี ท่านใช้สีรุนแรงจัดจ้าน แต่เอามาใช้ในลักษณะนุ่มเบา แต่มีสีครบวงจร เขาจึงได้ทดลององค์ความรู้ใหม่อีกรูปแล้วรูปเล่า ส่งเข้าประกวดในพิธีเฉลิมฉลองกาญจนาภิเษกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้รับการคัดเลือกเป็นศิลปินเพื่อเขียนรูปไปติดตั้งที่ศาลากลางจังหวัดศรีสะเกษ (เป็นหนึ่งใน 70 คนที่ได้ฝากฝีมือที่ศาลากลางจังหวัดดังกล่าวในวาระนี้) การแสวงหาความรู้ของอาจารย์สุวัฒน์ ยังไม่หยุดยั้งอยู่แค่นั้น ต่อมาเขามีโอกาสขอความรู้จาก ท่านอังคาร กัลยาณพงศ์ ท่านได้ให้ความรู้อย่างไม่ปิดบังแก่เขา ในเรื่อง ไดนามิค (ความเคลื่อนไหว) และกำลังของเส้น ท่านกรุณาให้วิธีคิดว่า "งานศิลปะทุกชนิดรวมทั้งศิลปะไทย ไม่ใช่แค่มีฝีมือ ฝีมือเป็นขยะที่ทับถม เมื่อฝีมือมากเกินไปแล้วควรทิ้งฝีมือบ้าง อย่าให้ฝีมือมาท่วมสติปัญญาจนทับถมเป็นขยะ ไม่รู้จักอิสระเสรีในการสร้างสรรค์ ต้องรู้จักตัวเอง และติตัวเอง (พิพากษาตัวเองได้) แล้วศิลปะของตนต้องอยู่เหนือกาลเวลา เป็นอกาลิโก ต้องร่วมสมัยและต้องนำสมัยด้วย" เขาเคยเขียนบทความที่ได้รับการถ่ายทอดนี้ ในหัวข้อ "เกียรติยศแห่งสยามชาติ" ในหนังสือ " กลวิธีการเขียนภาพจิตรกรรมไทย" ออกจำหน่ายเมื่อปี 2549 (ตอนนี้กำลังพิมพ์ครั้งที่ 2 อยู่)

     จากการได้พบครูบาอาจารย์ทั้งหลายที่มีความจริงใจเช่นนี้ ทำให้เขายิ่งรักอาชีพครูมากขึ้นอีก ต่อมาในระยะหลังๆ เขายังได้ความรู้หลายอย่างด้านจิตรกรรมและประติมากรรมจาก อาจารย์บำรุงศักดิ์ กองสุข ทำให้เขาทราบถึงปรัชญาและเงื่อนไขหลายอย่าง ของจิตรกรรมและประติมากรรมไทย จากประสบการณ์อันยาวนานบนเส้นทางศิลปะของท่าน ล่าสุดเขาได้ความรู้จาก อาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ผู้มีคุณูปการแก่วงการศิลปะไทย เมื่อเขามีชื่อเสียงขึ้นมา ทำให้คนรู้จักศิลปะไทยมากขึ้น ทั้งยังผลักดันศิลปินรุ่นใหม่ให้เกิดอย่างสง่างาม และสนับสนุนอย่างจริงใจ อาจารย์สุวัฒน์ขอความรู้ในด้านการดำรงตนอย่างมีเกียรติบนเส้นทางสายนี้ ก่อนพบปะพูดคุยกันนั้น เขาคิดว่าขอความรู้เรื่องนี้จากอาจารย์เฉลิมชัยได้แน่นอน เมื่อมีโอกาสเข้าพบเพื่อขอให้เขียนบทความในสูจิบัตรของเขาในนิทรรศการครั้งหนึ่ง  ได้คุยกันที่วัดร่องขุ่น อาจารย์เฉลิมชัยสอนว่า "ให้ทะนงในศักดิ์ศรี เกียรติแห่งศิลปิน ศิลปินจิตรกรรมไทยต้องหายใจด้วยตัวเอง ไม่ต้องพึ่งจมูกฝรั่ง ไม่พึ่งพาศิลปินต่างชาติ บรรพบุรุษของเราสร้างไว้ดีแล้ว ขอให้เชื่อมั่นในศิลปะไทยและพูดถึงการทำงานว่า "ถ้าอยากอยู่อย่างราชสีห์ ก็อย่ากินหนูตาย อดใจไว้กิน เก้ง กวาง ทำงานชั้นคุณภาพไม่อ่อนข้อให้แกลเลอรี่และพ่อค้าศิลปะ ไม่มีก็ไม่กิน กินอย่างพอเพียง แต่ทำงานให้เต็มที่ หยิ่งในศักดิ์ศรีศิลปิน" เมื่อเขาได้คุยกับศิลปินรุ่นใหญ่อย่างนี้แล้ว ทำให้เขามีทัศนคติที่ดี เห็นความเป็นศิลปินคือเกียรติยศแห่งชีวิต ซึ่งวิชาชีพอื่นๆ เราคงทำได้ไม่ดีเท่านี้เพราะไม่มีความถนัด ให้อดทน เมื่อสังคมยอมรับเรา เห็นความมุ่งมั่นจริงจังของเรา วันนั้นสังคมจะเดินมาหาเราเอง ในระยะหลัง อาจารย์เฉลิมชัย ประกาศหยุดเขียนรูปทำให้ผู้สะสมงานศิลปะไทย หันมาถามหารูปของอาจารย์สุวัฒน์ นั่นเป็นข้อดีอย่างหนึ่งที่ทำให้ศิลปินรุ่นหลังมีโอกาสมากขึ้น



ผลงาน "กูรมาวตาร" ได้รางวัลที่ 3 จิตรกรรมบัวหลวง
ก้าวสู่เวที การันตีด้วยรางวัล

     ย้อนไปเมื่อหลังจากที่ได้รับความรู้จาก อาจารย์ถวัลย์ แล้ว เขาก็ก้มหน้าก้มตาทำงานประกวด ในโครงการบัวหลวง ซึ่งเป็นรางวัลที่ถือว่าสูงสุดทางศิลปะไทย แต่เขาไม่หวังอะไรมากนัก คาดหวังแค่ร่วมแสดง  ในครั้งนั้น ภาพ "กูรมาวตาร" ขนาดเพียง 1.20 x 1.50 เมตร ของเขาได้รางวัลเหรียญทองแดง เป็นภาพที่มีขนาดเล็กที่สุดในการประกวด แต่กรรมการเห็นควรให้ได้รับรางวัล ใช้สีแบบอุดมคติของตนเอง เทคนิคสีชอล์คและสีอะคริลิค นำเสนอความเป็นทิพย์ เขาอ่านหนังสือ ลิลิตนารายณ์ 10 ปาง ของ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย แล้วหยิบยกเอาตอนกวนเกษียรสมุทรมานำเสนอ "กูรมะ" หมายถึงเต่า ในภาพเต่าหนุน "เขามันทระ" เพื่อเป็นแกน เอาตัวพญานาคพัน มีเทวดาถือหาง ยักษ์ถือหัว กวนเกษียรสมุทร เมื่อพญานาคพ่นพิษออกมา ยักษ์ซึ่งถือหัวนาคจึงโดนพิษนาคหมดแรง หมดฤทธิ์ เทวดาจึงรีบรุดไปดื่มน้ำอมฤต แล้วมาฆ่ายักษ์ การกวนเกษียรสมุทรในครั้งนั้น ทำให้เกิดสิ่งสำคัญขึ้น 14 อย่าง เช่น วัวนนธิ พาหนะของพระอิศวร ต้นปาริชาติ ต้นไม้แห่งการระลึกชาติ เป็นต้น ภาพ "กูรมาวตาร" เป็นภาพที่เขียนเป็นภาพที่ 2 หลังจากที่ได้ความรู้จาก อาจารย์ถวัลย์ ดัชนี

     เขาเรียนจบปริญญาตรี หลังจากได้รางวัลบัวหลวง เริ่มแสดงเดี่ยวจิตรกรรมไทย และได้รับเชิญเป็นอาจารย์ ตอนแรกเขาคิดอยากเป็นศิลปินจึงยังไม่รับคำเชิญ แต่ด้วยความรักอาชีพครูจึงมาสอบเป็นครูเองในภายหลัง สอบได้เป็นอันดับ 1 จึงเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จนถึงปัจจุบัน   จากนั้นเขาได้สร้างสรรค์ผลงานชุดแล้วชุดเล่า พร้อมกับเรียนปริญญาโทที่ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร  เขาคิดว่าตนเองยังต้องพัฒนาทางสมองให้คิดอย่างเป็นระบบ จึงเรียนด้านทัศนศิลป์ เพื่อนำมาผนวกกับศิลปะไทยที่เคยทำ กลายเป็นศิลปกรรมไทยร่วมสมัย เดิมเคยเขียนสีพื้นหนัก ตัวอ่อนสีอ่อนเบา ก็เปลี่ยนเป็นเขียนพื้นสีเบา ตัวหนัก และ ใช้พื้นที่ว่างให้เป็นประโยชน์โดยการทิ้งพื้นที่ว่างเป็นบางช่วง ในช่วงนั้นเขาได้ไปขอความรู้จาก อาจารย์ประเทือง เอมเจริญ ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว จากนั้นเขาได้ทดลองเขียนภาพชุดใหญ่อีกหลายรูป ส่งเข้าประกวดงานศิลปกรรมบัวหลวงและงานอื่นๆอีกหลายครั้ง บางครั้งได้เข้ารอบสุดท้าย บางครั้งไม่เตะตากรรมการเลย และแล้วในการประกวดศิลปกรรมบัวหลวงครั้งที่ 25 ผลงาน "โลกวิวรณปาฏิหาริย์" ของเขาก็ได้รับรางวัลสูงสุด เหรียญทองบัวหลวง กรรมการหลายคนกล่าวว่า "รูปนี้ถ้าไม่ได้รางวัลก็ไม่รู้จะว่าอย่างไร" งานชิ้นนี้เขาทำแบบปล่อยวางไม่คาดหวัง สนุกกับการทิ้งสเปซ ทำงานอย่างมีความสุข กรรมการพอใจ ทุกคนยกมืออย่างเป็นเอกฉันท์ งานที่เขาเคยได้รางวัลเหรียญทองแดงชุดแรกเป็นเรื่องเกี่ยวกับเทพเจ้า เสนอความเป็นทิพย์ ส่วนงานชุดหลังที่ได้รางวัลเหรียญทองเป็นเรื่องธรรมปรัชญา ระยะหลังๆ คุณย่า คุณยาย และ คุณแม่เสียหมดแล้ว เขาเข้าถึงความเป็นจริงแห่งวัฏสงสาร สีก็เปลี่ยนไปเป็นเอริธโทน หรือสีเทาที่สงบ งาม

บวชเรียน เพียรปฏิบัติธรรม

     เมื่อได้รับรางวัลที่วงการศิลปะถือกันว่าสูงสุดทางด้านจิตกรรมไทยแล้ว เขาจึงได้ลาบวชเรียนที่วัดชลประทานรังสฤษฏ์ นานถึง 1 พรรษา ก่อนหน้านั้นเขาเคยศึกษาธรรมะที่สวนโมกขพลาราม และเคยทำงานศิลปะให้กับวัดปัญญานันทาราม รู้หลักคำสอนธรรมะขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า มาบ้างแล้ว การมาบวชครั้งนี้เขาตั้งใจปฏิบัติธรรมอย่างจริงจัง และได้ผล เขาเข้าใจถึงหลักความจริง ความเป็นอนิจจัง และอนัตตา ทุกสิ่งในโลกนี้เป็นสิ่งสมมติทั้งสิ้น ปัจจุบัน แม้สึกมานานแล้วเขาก็ยังยึดหลักธรรมะตามรอยพระพุทธองค์ ทำสมาธิ ภาวนาเป็นนิจ อ่านหนังสือธรรมะเพื่อให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น และเพื่อนำมานำเสนอผ่านทางศิลปะ



ผลงาน "โลกวิวรณปาฏิหาริย์" ได้รางวัลที่ 1 เหรียญทอง จิตรกรรมบัวหลวง

ศิลปินตัวจริง แต่ไม่ทิ้งอาชีพครู

     เมื่อการก้าวเดินบนเส้นทางศิลปิน ถึงจุดที่เป็นที่ยอมรับของนักสะสมและผู้ที่รักงานศิลปะทั่วไป เขารู้ตัวดีว่ารักการเขียนรูปมาก อยากทำงานศิลปะทั้งวันทั้งคืน แต่บีบคั้นด้วยเวลา ต้องรับผิดชอบในการสอน ต้องทำงานตามระบบของสังคม ความคิดจะลาออกจากอาชีพครูก็แวบเข้ามาในหัวใจ อีกทั้งศิลปินรุ่นใหญ่หลายท่าน ก็แนะให้ลาออกมาเป็นศิลปินเต็มตัว จะได้ก้าวหน้าไกลตามที่มุ่งหมาย ได้สร้างสรรค์งานอย่างเต็มที่ เขาเองก็หวั่นไหวเกือบตัดสินใจลาออก แต่เมื่อมาคิดทบทวนว่า อยู่ที่ไหนก็สร้างงานได้ ช่วงนั้นมีศิษย์หลายคนมาขอร้องไม่ให้ลาออก พวกเขาบอกว่าที่มาเรียนที่นี่เพราะอยากเรียนกับอาจารย์สุวัฒน์ และเพื่อนเขาอีกหลายคนก็คงคิดเหมือนเขา มีศิษย์คนหนึ่งเป็นข้าราชการครูอยู่ที่จังหวัดประจวบฯ มาเรียนเพิ่มเติมที่นี่เพราะมีอาจารย์สุวัฒน์ ไม่อยากให้ที่นี่ขาดครูอย่างอาจารย์สุวัฒน์ ผู้บริหารหลายท่านสอนเขาในเรื่องของการแบ่งเวลา การเป็นครูและเป็นศิลปินในเวลาเดียวกันนั้นต้องแบ่งเวลาอย่างไร เด็กนักเรียนก็ยังรักที่จะเรียนอยู่ 

     "วิทยาทาน" เป็นคำที่อาจารย์แก้วย้ำอยู่เสมอ ท่านว่า "ในอาชีพครู และศิลปินนั้น ผลงานของเรานอกจากภาพที่สวยงามแล้ว ผลงานอีกอย่างหนึ่งของเราก็คือผลสำเร็จของศิษย์" ทำให้เขาได้คิดว่า ถ้าไม่มีครูอย่างอาจารย์แก้วแล้ว จะสรรหาครูอย่างนี้ได้ที่ไหน เราตอบตัวเองได้ ครูดีเป็นอย่างไร ครูไม่ดีเป็นอย่างไร เมื่อคิดทบทวนดีแล้วจึงตัดสินใจไม่ลาออก

     ปราชญ์หลายท่าน เช่น อาจารย์ชลูด นิ่มเสมอ ท่านเคยเขียนไว้ว่า "การเป็นศิลปินที่ดีนั้นเป็นได้ง่าย แต่การเป็นทั้งครูและศิลปินที่ดี เป็นได้ยาก เพราะศิลปินที่ดีเขียนรูปอย่างเดียวได้ แต่ครูต้องสอนและเขียนรูปให้ดีด้วย มิฉะนั้นศิษย์จะไม่ศรัทธา" 
     อาจารย์สุวัฒน์ จึงแบ่งเวลาในการทำงานให้ชัดเจนยิ่งขึ้น เช้าเข้าสอน พอว่างเขาก็ทำงานส่วนตัวในสตูดิโอที่มหาวิทยาลัยจัดไว้ให้สำหรับอาจารย์ เป็นห้องขนาด 4 x 6 เมตร แม้เขาจะมีรายได้จากการเขียนรูปมากกว่าเงินเดือนอาจารย์มากมาย ขายรูปได้รูปหนึ่งได้เงินเท่ากับเงินเดือนครูทั้งปี แต่ก็เต็มใจที่จะสอนต่อไป

จิตไม่หวั่นไหว ก้าวไกลในวงการ

      การอยู่ในวงการศิลปะนั้นไม่ใช่ของง่าย เพราะทุกวงการมีทั้งคนดีและไม่ดี พอเริ่มเด่นดังก็มีบางคนเขม่น ริษยา บางคนเคยสนับสนุนก็กลับเหินห่าง การทำงานเป็นกลุ่มใหญ่หลายครั้ง เขาเป็นฟันเฟืองตัวหนึ่ง ต้องรับภาระทุกอย่าง ต้องเป็นประหนึ่งหนังหน้าไฟ รับหน้าทุกเรื่อง เพราะศิลปินต่างมีตัวตน มีอัตตาสูง เขาต้องเป็นคนประสานงาน เป็นตัวกลางที่ต้องถูกกระทบ บางครั้งก็มีเสียงเสียดสีนินทา จนบางครั้งรู้สึกระทดท้อ เขาพยายามมองให้เป็นเรื่องธรรมดา เขาเล่าว่าเมื่อเกิดภาวะเช่นนี้ เขาจะไม่โกรธ ไม่เกลียดคนที่มีอคติต่อเขา เพราะหากคนเหล่านั้นรู้จักตัวตนที่แท้จริงของเขาแล้วก็จะไม่เกลียดเขาเลย "นักรบเก่งต้องมีบาดแผลบ้าง  หากต้องการได้รับชัยชนะอย่างสง่างาม" ด้วยจิตใจอันเข้มแข็งและรู้จักให้อภัยนี้ จึงทำให้เขายังอยู่ในวงการต่อไปได้เป็นอย่างดี เขาย้ำว่า  "สังคมใดก็แล้วแต่ มีความไม่จริงใจซ่อนอยู่ การนินทาเป็นเรื่องธรรมดา มีอยู่ทั่วไปทุกวงการ แต่เมื่อ งานส่งผล คนจะเข้าใจและเห็นใจในความมุ่งมั่น" เหล่านี้เป็นบทพิสูจน์ตัวตนและการทำงานของศิลปิน เขารักที่จะทำงานแบบสันโดษ แสดงไป ทำงานไปดีกว่าที่จะไปหวั่นไหวกับความเป็น "ธรรมดา"

นิทรรศการเดี่ยว บทพิสูจน์แห่งความเป็นศิลปิน

     อาจารย์สุวัฒน์ แสนขัติยรัตน์ เริ่มแสดงผลงานเดี่ยวเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2537 ณ หอศิลป์อหิงสา ใช้ชื่อนิทรรศการว่า "พุทธลีลาในจินตนาการ" ได้รับความสำเร็จอย่างสูง เขามอบความสำเร็จในครั้งแรกนี้ให้คุณพ่อผู้มีพระคุณ โดยนำเงินทั้งหมดจากการขายรูปไปมอบให้ท่าน เพื่อเป็นการตอบแทนพระคุณ และเพื่อพิสูจน์ให้ท่านเห็น "เกียรติยศแห่งอาชีพศิลปิน" ผลงาน ชุดที่ 2 คือชุด "สุนทรียภาพทางจิตวิญญาณ" พ.ศ. 2545 ก็ประสบความสำเร็จอีก ครั้งนี้เขานำเงินไปร่วมทำบุญ โรงมหรสพทางวิญญาณ ณ วัดปัญญานันทาราม หลังจากนั้นเขาได้นำความรู้ที่ได้จากอาจารย์ผู้มีคุณูปการ ทั้ง 5 ท่าน มาเป็นบทสรุปในการทำงาน ผนวกกับความรู้เดิมที่ได้จากอาจารย์เดิมๆ ในสมัยที่เรียนมาสร้างงานชุดใหม่ แต่งานครั้งนี้เพิ่มเทคนิคในการแกะสลักผสมเข้าไปในจิตรกรรมไทยบ้าง ในช่วงนี้เขาได้ความรู้เพิ่มเติมจาก อาจารย์บำรุงศักดิ์ กองสุข พุทธประติมากรลือนาม ท่านได้เอื้อเฟื้อสอนเขาหลายอย่าง ท่านเป็นทั้งอาจารย์และกัลยาณมิตรต่างวัย ที่ปรารถนาดีต่อเขามากจนเขาสัมผัสจิตแห่งความปรารถนาดีนั้นได้ทุกเรื่อง บางครั้งมีรายการทีวีดีๆ เช่นรายการ "ศิลปะโลก" หรือเมื่อมีการสัมภาษณ์ ท่านอังคาร กัลยาณพงศ์ อาจารย์บำรุงศักดิ์ ก็กรุณาโทรมาบอก เป็นความประทับใจในความเมตตาของท่านมาก การผสมผสานความรู้จากอาจารย์ทั้งหลาย แล้วกลั่นกรองออกมาเป็นผลงานแสดงเดี่ยวชุดที่ 3 "พุทธปรัชญา - พุทธานุภาพ" ในปี พ.ศ. 2546 ใช้เวลาเตรียมงานนานถึง 2 ปี เขากล่าวว่าเป็นครั้งที่ประสบความสำเร็จสูงขึ้นมากอย่างเห็นได้ชัด เป็นก้าวที่สำคัญของเขา เป็นนิทรรศการที่มีนักสะสมวิ่งมาเลือกซื้อผลงานของเขา สื่อต่างๆมา ขอสัมภาษณ์ลงหนังสือพิมพ์หลายเล่ม จากนั้นเขาร่วมแสดงนิทรรศการกลุ่ม "ทักษิณาวรรต" ร่วมกับศิลปินมีชื่อเสียง และบางครั้งเขาก็แสดงผลงานร่วมกับคณาจารย์ "กลุ่ม 6" ซึ่งมาจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญญบุรี (คลองหก) ก็มีสื่อมวลชนให้ความสนใจเช่นกัน 4 ปี หลังจากนั้น เขาแสดงงานกลุ่มเป็นส่วนใหญ่  

     และในนิทรรศการครั้งสำคัญครั้งนี้ เขาต้องการให้เห็นถึงความแตกต่าง ไม่ซ้ำแบบเดิมๆ เป็นการพัฒนาไปอีกก้าวหนึ่งซึ่งใช้เวลานาน การทำงานที่สร้างสรรค์ขึ้นอย่างประณีตทั้งความคิดและฝีมืออย่างนี้ ไม่อาจจะแสดงบ่อยๆ ได้ ต้องใช้เวลาและพลังมหาศาล  ในช่วงที่ทำงานชุดล่าสุดนี้  เขาต้องแต่งตำราศิลปะไทย และสร้างหอศิลป์ที่คลอง 11 ไปพร้อมๆกันด้วย เป็นช่วงที่เขาทำงานอย่างไม่มีวันหยุด ไม่ได้ดูรายการทีวี และแทบจะไม่ได้ออกงานสังคมที่ไม่จำเป็น เขาทำแต่สิ่งที่เขารู้ว่ามีประโยชน์ สามารถเก็บเกี่ยวและถ่ายทอดเป็นผลงานศิลปะได้ ในบางช่วงเวลาระหว่างนั้นเขายังต้องเดินทางไปมณฑลยูนาน ประเทศจีน เพื่อแสดงผลงานนิทรรศการกลุ่มด้วย 

     "ธรรมปรัชญา - เทวานุภาพ" นิทรรศการในปี พ.ศ. 2550 ครั้งนี้ เป็นนิทรรศการที่เขามีความตั้งใจที่จะนำเสนอเป็น  2 เรื่อง คือ เรื่องธรรมะซึ่งเป็นเรื่อง "แก่น" แห่งพุทธศาสนา และ เรื่องปาฏิหาริย์ของเทพเทวาต่างๆ ประเภท "ขอให้-ไหว้รับ" ซึ่งเป็นเรื่อง "เปลือก" หากเราไม่รู้เปลือกแล้ว จะเข้าถึงแก่นได้อย่างไร เป็นรากทางความคิดของ 2 ลัทธิความเชื่อ ที่มีฐานมาจากแนวคิดของประเทศอินเดีย ก่อนที่จะส่งผลต่อคติความเชื่อของผู้คนในสังคมไทย จะสังเกตเห็นว่า แม้จะมีแหล่งกำเนิดทางความเชื่อจากแหล่งเดียวกัน แต่หากมองถึงความแตกต่างก็มีมากมาย หรือบางครั้งอาจกล่าวได้ว่าอยู่คนละเส้นทางก็ว่าได้ ก็คือพระพุทธศาสนาสอนให้คนฟังทุกสายปัญญา แต่ศาสนาพราหมณ์เชื่อเรื่องความช่วยเหลือจากเทพยดา  พระผู้เป็นเจ้าด้วยความศรัทธา สักการะเพื่อความพ้นทุกข์ แต่ทั้งนี้ก็ต้องอยู่บนเส้นทางของความดีงามด้วย เปลือกนั้นจึงหาได้เป็นสิ่งเลวร้ายไม่ ธรรมะเป็นสิ่งจรรโลงใจ ประเทืองปัญญา แต่ปาฏิหาริย์ เป็นเรื่องของกำลังใจ  ตามความเชื่อที่ว่า พุทธศาสนาจะจรรโลงโลก 2500 ปี ส่วนอีก 2500 ปี เป็นเทวดาจรรโลง พญามารมีส่วนจรรโลงในช่วงปลาย จึงไม่แปลกใจเลยที่เทวานุภาพมีส่วนจรรโลงพุทธศาสนาในปัจจุบัน อาจารย์สุวัฒน์เห็นว่าเป็นทางที่ดีทั้ง 2 สาย เพียงแต่น้อมนำเสนอวิธีการคนละแบบ แต่ก็ยังมีส่วนสัมพันธ์กันเพราะ 2 ศาสนา มีที่มาจากแหล่งเดียวกันและเข้ามาเจริญรุ่งเรืองในสุวรรณภูมิในเวลาที่ต่อเนื่องกัน

      นิทรรศการครั้งนี้ไม่ได้โชว์ความอลังการ แต่โชว์ศิลปะของเนื้องานแต่ละชิ้น มุ่งเน้นความรู้สึกต่อผู้ชม ให้ศิลปะเป็นภาษาหนึ่งที่จะบอกความรู้สึกในแต่ละภาพของเขาว่าเขาคิดและรู้สึกอย่างไรโดยไม่ต้องมีคำอธิบาย
     แต่เดิมเขาทำงานจิตรกรรมมาตลอด แต่นิทรรศการในครั้งนี้ 4 - 5 ภาพ เขาเสนอเทคนิคใหม่ ฟื้นความจำเดิมที่เคยทำงานแกะไม้ ใช้เครื่องมือเดิม สิ่วเดิม ราวเตอร์เดิม นำ "มิติแห่งศิลปะล้านนา ภูมิปัญญาแห่งบรรพบุรุษ" มาผสมผสานกับจิตรกรรมร่วมสมัย รวบยอดทั้ง 2 แนวทางอย่างภาคภูมิใจ ส่วนอีกแนวที่อยากทำต่อไปคือ High Relief ส่วนเนื้อหานั้นเขาไม่ต้องการทำเรื่องอื่นนอกจาก เทพ และ พระพุทธศาสนาศาสนา แต่ในวันหน้าอาจจะหยิบยกเพียงสัญลักษณ์มาใช้ก็เป็นได้

ความภูมิใจแห่งอดีตสมัย เป็นแรงบันดาลใจแห่งอนาคต

     ระยะเวลาในการทำงานอย่างทุ่มเท และยาวนาน ย่อมก่อเกิดผลงานชิ้นเยี่ยมหลายชิ้น บางชิ้นได้รางวัลเกียรติยศ บางชิ้น ได้รับเกียรติสะสมในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป์ เป็นความภาคภูมิอย่างที่สุดในชีวิตการทำงานของอาจารย์สุวัฒน์ แสนขัติยรัตน์ คณะกรรมการของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป์ ถนนเจ้าฟ้า ได้พิจารณาคัดเลือกผลงานที่เป็นความภาคภูมิใจแห่งอดีตสมัยของเขา 3 ภาพ คือ 
          -  ภาพ  "พระปรีชาสามารถ ราษฎร์ร่มเย็น"  ขนาด 1.50 X 2.00 เมตร
          -  ภาพ  "ยมกปาฏิหาริย์ หมายเลข 2"  ขนาด 1.50 X 2.00 เมตร
          -  ภาพ  "พุทธานุสติ" เป็นภาพจิตรประติมากรรม ขนาด 0.90 X 1.00 X 1.80 เมตร

      การได้รับเกียรติในครั้งนี้ถือเป็นแรงบันดาลใจ ในการทำงานแห่งปัจจุบันและอนาคต ปัจจุบันเขามีโอกาสได้ ร่วมออกแบบและควบคุมการสร้างบานประตูให้กับวัดป่าภูก้อน อำเภอนายูง จังหวัด อุดรธานี เป็นการออกแบบที่ใช้เวลานาน ใช้ความรู้ความสามารถมาก ไม่ยึดติดในอามิสสินจ้างใดๆ เมื่อเสร็จแล้วมอบให้ทีมอาจารย์และศิษย์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี ติดตั้งในวิหารพระนอนที่สถิตพระพุทธรูปปางปรินิพพาน แกะสลักด้วยหินขาว White Carara จากอิตาลี แกะสลักโดย อาจารย์นริศ รัตนวิมล และพระโลกุตระ ออกแบบและปั้นโดย  อาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ภาพทศบารมี ออกแบบและปั้นโดย อาจารย์บำรุงศักดิ์ กองสุข ล้วนเป็นการคัดสรรค์ยอดฝีมือของเมืองไทยทั้งสิ้น

      การทำงานนี้เขาประทับใจในตัว คุณแม่ปิยวรรณ วีรวรรณ ในด้านการประพฤติธรรมและการถ่ายทอดธรรมวิทยาให้แก่เขา เมื่อท่านมาขอให้เขาช่วยทำงานให้นั้น ตรงกับวันเกิดของเขาพอดี ในเช้าวันเกิดเขาไหว้พระและอธิษฐานขอให้ได้ทำงานใช้ความรู้ความสามารถรับใช้พระพุทธศาสนา แล้วคุณแม่ปิยวรรณก็มามอบงานให้เขาในวันนั้นเอง เขาจึงถือว่าการได้ทำงานนี้เป็นของขวัญวันเกิดอันยิ่งใหญ่ ที่ได้ร่วมบุญกับท่าน นอกจากนั้น เขาได้มอบลิขสิทธิ์ภาพเขียนของเขา 10 ภาพ เพี่อพิมพ์บัตรอวยพร จำหน่ายแก่ผู้มีจิตศรัทธาที่ต้องการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา รายได้จากการจำหน่ายบัตรจะสมทบสร้างพระพุทธรูปปางปรินิพพาน ดังกล่าว อาจารย์สุวัฒน์ ทำงานนี้ด้วยความสุข ไม่มีความกดดัน ไม่ผูกมัดทั้งเวลาและการเงิน ทำงานด้วยความว่าง คุณแม่ปิยวรรณท่านให้การสนับสนุนการทำงานเป็นอย่างดี ท่านสอนว่า "จงสร้างโอกาสให้สมบูรณ์ ทำโอกาสนั้นให้สมบูรณ์ เต็มที่กับงาน พิพากษาตัวเอง เพราะมีโอกาสเสี่ยง จงทำโอกาสให้สมบูรณ์" ท่านให้ธรรมะอีกหลายข้อ ที่สามารถนำมาใช้ในชีวิตที่ดำเนินอยู่ในโลกปัจจุบันและงานที่ทำนั้น ทำให้เขาเกิดปิติที่ได้ทำงานกับท่าน ท่านให้ธรรมะทุกครั้งที่พบกัน ด้วยภาษาบาลีที่แปลเป็นภาษาที่เข้าใจได้ง่าย นั่นเป็นค่าตอบแทนที่ดีกว่าเงิน มากกว่าเงินที่เป็นการจ้าง เขาได้ความคิด ได้สติ ได้ปัญญา ทุกครั้งที่สนธนาธรรมกับท่าน ได้ความอบอุ่นจากทีมงานทุกคน และทีมงานก็เชื่อมั่นในตัวอาจารย์สุวัฒน์มาก




"เรือนศิลป์แสนขัติยรัตน์"
     ปัจจุบันอาจารย์สุวัฒน์ เปิดแกลเลอรี่ส่วนตัว "เรือนศิลป์แสนขัติยรัตน์" อยู่ที่ 24 / 6 หมู่ 11 ถ. เลียบคลอง 11 ตำบลหนองสามวัง อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี เพื่อโชว์ผลงานของเขาและอาจใช้เป็นที่สอนศิลปะให้กับผู้ที่สนใจในอนาคตด้วย

     เส้นทางศิลปะของอาจารย์สุวัฒน์ยังดำเนินไปอีกยาวนาน และเขาก็ยังมีโอกาสสร้างกุศลทั้งด้าน "วิทยาทาน" และ "ธรรมทาน" อันยิ่งใหญ่ มิใช่ความภาคภูมิใจเฉพาะในส่วนตัวเขาเท่านั้น แต่เป็นความภาคภูมิใจของศิลปิน และนักศึกษาศิลปะทั้งประเทศ ที่เรามีอาจารย์ที่มี "จิตวิญญาณแห่งความเป็นครู" ผนวกกับ "จิตวิญญาณแห่งพุทธศาสนิกชน" และสามารถถ่ายทอดความรู้ความสามารถแก่ศิษย์ และมอบฝีมือประดับไว้ในศาสนสถานของประเทศไทย ซึ่งจะเป็นความงามที่ประหนึ่ง ผลิออกมาจากจิตใจของเขานั่นเอง เป็นความโชคดีของเราทุกคนที่มีคนดีประดับวงการเช่นนี้


พจนีย์ ตีระวนิช

Back to Top
 



อ.สุวัฒน์ ถ่ายภาพหน้าผลงาน ที่ เรือนศิลป์แสนขัติยรัตน์ ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551
Buddha Artist

Suwat Saenkattiyarat
A Man who persuade the Cultural Art


     In the present era where materialism is overwhelming, many have forgotten to realise what true Buddhism really is. Some have become the economic slaves of brand names while others diligently work for the hard-earned money but spend it extravagantly. We are never tired of struggling through it all to earn some money, even to go as far as cheating or backstabbing others for our own good. However, some artists think that Buddha-Arts might be able to remind of what Buddhism is about and what true happiness really is. That brings about the name of Mr. Suwat Saenkattiyarat, an artist who have had faith in Buddhism since young and would like to apply the religious teachings to the people to calm the calamity and needless desires in our minds.

Continuing arts in the land of the ancestors

     Professor Suwat Saenkattiyarat has a carpenter blood flowing in his veins, or what the Northern people call "Sala". His grandfather was the famous carpenter who had built a number of temples in Umper Phan. He wished for his grandson to carry the family trait of carpentering and so he had allowed his grandson to work on what a child could do such as oiling the prototype  and simple sculpturing the Thai drawing style such as "Pud-than flower" , "RakRoy" and "Pra-Jam-Yam". He gave his grandson a daily allowance of 2 Baht (which means about 80 baht today).

     Mr. Suwat Saenkattiyarat grew up with the love of carpentering and later learned technical skills at school. During school vacations, he would always help his grandfather no longer as a general helper but as the prime technician. He was given the opportunity to start the Thai drawing style on the Na-Ban and various Temple gate and was paid thousands of baht every vacation, which was enough to cover his tuition fees and personal expenses at school. He knew that his grandfather paid more that what he should get as the latter knew that the expenses of studying in Bangkok were high. His grandfather truly loved arts and would like to pass on his knowledge 'from generation to generation'. He has become a monk for years and has announced that he wished to die as a monk. Today, he still continues to create more art works for the temple, like building pagoda as well as other beautiful architectures in the temple. He is considered the architect of the Lanna culture while his son, Mr. Suwat’s father, is the merchant who owns the biggest grocery store in Umper Phan market. He creates art pieces and played local instruments as a hobby. He plays "Zung" (Typical Thai musical instrument) really well and distinguished his instrument from others by sculpturing it beautifully by his own hands.

     All those unusually artistic surroundings has made the young Suwat to be extraordinary. He has shown us that talent through his works of arts. Besides instrument sculpturing, his father also likes to create rose-shaped sculptures and to draw pictures on white-grey paper. Though he had never studied arts, being in monk hood for a few years made him able to remember some artistic wall graffiti so that he could create his own later at home. All those have inspired Mr. Suwat to follow the paths of his father and grandfather. So he chose to go to Bangkok to study arts.

No Family Support. Self-Funding!

     Mr. Suwat's father wanted his son to work as anything but an artist, even though he has been witness seeing a successful artist himself. He thought that being a doctor or a policeman offered more secure future and it would also bring fame to the family, or at least being a merchant would be good enough, so that he could continue the family business. When Mr. Suwat opted to study arts at a polytechnic, his father allowed him to do so with his support. However, when Mr. Suwat wanted to further his arts degree at university level, his father rejected the thought. He wanted his son to continue with the family business while studying other things. Mr. Suwat insisted on studying arts and he left for Bangkok, and he sold away his late mother’s beloved necklace and also his first motorbike which was his pride from working with his grandfather. He met Mr. Yordchai Chalongkitjsakul, the person who sparked his ambition of becoming an artist. Bangkok was a completely different place from his hometown. He tried hard to find the venues of the various university entrance examinations but he failed more often than not. Precious time was spent and he almost depleted all his cash that he brought along. Fortunately, he managed to pass a direct admission to Poh Chang College of Arts & Crafts where he was taught by Mr. Sompong Akarawong and Mr. Soodsakorn Chaisem. With solid foundation from his teachers, and his own endless hard work, he had outperformed other students. He tried hard to create his own style of arts which his teachers sometimes disagreed but they certainly appreciated Mr. Suwat’s creativity. After graduating with a diploma, he furthered his studies majored in arts education at Rajamangala Institute of Technology (now Rajamangala University of Technology, Thanyaburi) where he met a lot of great teachers.

Impressed because of Teachers

     Back when he was young, Mr. Suwat often dreamt to become an arts teacher one day. He studied at Matthayom Phanwittayakom School (high school equivalent). The reason was he truly respected his arts teacher in high school, Mr. Kaew Janthakras, who was an arts graduate from Silpakorn University. Mr. Kaew is an example of excellent teachers who truly care for their students. He pushed some of his students hard if he saw talent in them. He even gave extra lessons free of charge on weekends so his students could learn more. His wife, Mrs. Ladda Janthakras, was a respectable teacher at the same school and always supported her husband’s charitable tasks. At the first arts competition Mr. suwat ever participated in, he won the First Price of 3,000 baht from The Communications Authority of Thailand which was considered really much for that time. That truly emboldened his passion in arts. His friends often called him "the Leader (in arts)." Mr. Kaew also went as far as to send Mr. Suwat's paint to Turkey with his own financial support.

     Teacher Kaew's generosity is well-known and he received the honourable provincial Good Man Award and was seen on TV in Channel 5. His story was also published in "Good Story of Good Man" with the support of the government to show the society how incredibly generous and kind a person can be.

     A great teacher certainly is an excellent example for his students to follow. Mr. Suwat has always had an ambition to become a teacher because he had such a great teacher as the mentor and wanted to become someone like him. After graduation from university, many people encouraged him to give up being a teacher and to become a full-time artist. However, Mr. Suwat still adheres to his ideology of becoming a great teacher like Mr. Kaew so that later generations will still benefit from his knowledge which is passed on to his students. He believed being a teacher is the greatest occupation.

Young artist in the gang of the experienced

     He met up with some famous artists in various places, especially Chiang Rai, and he had lots of opportunities to learn new things. When the Royal Princess Maha Chakri Sirindhorn visited Rai Mae Fah Luang, he had to paint tattoo on a soldier’s body (called "Sattaboriphan" : The tattoo drawing of 7-mountain). Whilst he was still a student, other painters were already very experienced teachers. Being close with them and being able to exchange their skills and styles made him able to be very knowledgeable and highly skilled later. Ajarn Thawala was a leader artist in that team.

Keep Learning to Keep Improving

     Even while Mr. Suwat was still an undergraduate student, meeting many older talented artists taught him many things which he never knew. Also, he was very willing to learn things our of his own major and so he went to look for Teacher Thawan Datchani. He spelled the teacher's name wrongly in the letter written to him and was given a lines-writing as a punishment! on the meeting day.

     Ajarn Thawala was a true master and taught him many, many things. He showed him about how lines and colours make arts work. He also brought him to various places where hundreds of paintings were studied at night. She once said "I would only teach those who are truly willing to learn or else it's just another waste of my saliva."

     At another occasion, he went to Ajarn Pratueng Emcharoen who was a master in transforming bright and powerful colours into something of cooler tones, but with complete array of colours. Mr. Suwat learned a lot of new things and he tried time and again to create his own style. His painting, which was submitted for a competition after meeting Mr. Pratueng, actually received an honour from His Majesty to be placed at the provincial principal office at Sri Saket.

     The search for knowledge did not stop with just two teachers, of course. Mr. Suwat learned dynamics of lines from Mr. Angkarn Kallayanaphong who always taught him to be up-to-date and keep improving our own selves based on past experiences. Mr. Suwat also met Ajarn Bamrung Kongsook who taught him about the condition & philosophy of Thai Art from his long experiences.  Latest he met Ajarn Chaloemchai Kositphiphat who prominently contributed and made known of the Thai Art to the society. Ajarn Chaloemchai always told him to take pride in being an artist, to believe in our own Thai heritage and not to succumb to foreign cultures nor arts galleries' money.

     Meeting up with various great teachers has strengthened his dream to become a teacher for the next generations. Also, he believed that artistry is the honour of life.

The Limelight


     Back to the time right after he was taught by Ajarn Thawala, he was still an undergraduate student and painted "Kuramawatarn" then he submitted that for Bualuang Arts Competition, which is the most prestigious award, and was awarded the Bronze Medal. Certainly, the judges were fascinated by his painting, which proved his uniqueness and talent in arts.

     Mr. Suwat graduated with a top rank of his class and after a few years of being full-time artist, he passed through teachers' test and became a teacher at Rajamangala University of Technology, Thanyaburi.With constant desire to learn more, Mr. Suwat studied for a masters' degree at SrinakharinWirot University, Prasanmitre. With the help of Ajarn Pratueng, he created his own whole new modern Thai arts style. After many trials and errors, he took part in Bualuang competition again with his "The Miracle of Lokawiworana". This time, he achieved the highest award achievable, the Gold Medal Award. He utilised spaces in the paint intelligently with warm earth-toned colours like grey, reflecting from his inner understanding of the truth in "Wattasongsarn" from the pass-away of his mother and grandmother.

The life of a Monk

     Upon achieving the highest award for a Thai culture artist, Mr. Suwat decided to become a monk atWat Chonlapratanrangsarit for a year. He was determined to truly comprehend and follow the Buddha's teachings. Through deep understanding of Buddhism, he wished to show it to people through his arts.

True Artist who Never Gave Up in Teaching

     The life of an artist who is also a teacher like Mr. Suwat used to bring him difficulties in life. As he became a prominent artist, he had to spend more and time on painting and sometimes it was conflict to the role as a teacher which is time consuming to pursue the class and follow some rule of the faculty. Many famous artists suggested that he should quite as a teacher. He almost gave up. However, he remembered Ajarn Kaew's teaching that "as a teacher and artist, not only should we create beautiful arts, but also create successful students like ourselves." Many students insisted that he should continue to teach as they felt that Mr. Suwat was such an excellent teacher and their lives would change without his guidance. Also, a guru named Ajarn Chalood Nimsamer reminded him that being a good teacher and a good artist at the same time is difficult because he had not only create a great art pieces but also have to gain the respect by the students.

     After learning better time management, Mr. Suwat continued being an arts teacher and an artist. Despite earning much more from selling his paintings than his own salary, he still loved to teach, like he has dreamt to do.

Unwavering Determination
           
     
Today, being in the field of arts is not easy as there are both good and bad people in the society. When Mr. Suwat became famous, it was only natural that he would have to face others' jealousy. Due to high ego of many artists, badmouthing has become something Mr. Suwat had to get used to. He was never angry with those petty words, and was never upset by them. He always thought that a true warrior certainly must have some wounds before he wins the war. With unwavering determination and selflessness, he continued to grow as an artist.

Showcase His Own Pieces, the Proof of his Artistry

     Mr. Suwat first showcased his artistic paintings at "Buddha-Arts in Imagination" at Ahimsa Arts Centre in 1994. It was a very successful event and he gave all the proceeds from the exhibition to his father to show him "The pride prestigious of bring an artist". The second showcase in 2002, "Appreciation of the Soul", was highly successful again and he donated the proceeds to renovation of Arts Centre at Panyanandaram Temple. Later, with the teaching of the great 5 teachers, he added sculpturing into his Thai arts and his arts improved to even greater level. With additional supervision from Ajarn Bamroongsak Kongsook, the guru of Buddhist heritage, he was both a teacher and a friend of Mr. Suwat's and based on this improvement, he held the third exhibition of his arts "Buddha Philosophy - The Power of Buddha" in 2003 which he spent 2 years in preparation. It was even more successful than the first two and collectors and reporters flocked to the exhibition to purchase his pieces and to publish stories about himself and his arts.


     This year, the Arts Exhibition of Thamma-Prachaya and the Power of Deva 2007, aims to present to the audience two themes, namely: the core of Buddhism; and the superstitious miracles of the angels and gods of Brahma. The beliefs were based from India and passed down to Thai people through our ancestors. Buddhism teaches us to do good deeds so good things will happen as a result, while Brahma teaches people to pay proper respect to the various gods and angels so that good things will happen as well.

     The combination between superficial superstition and deep understanding of things of the two religions certainly leads Mr. Suwat to create such a unique art that will transcend the religious faiths to the audience. This exhibition will showcase Mr. Suwat's skills in not only painting, but also wood sculpturing and Lanna cultures (Northern Culture). The style will be of "high relief".

Being Proud of the Past Inspires Better Tomorrow

     Throughout the long time Mr. Suwat has lived with arts and so much effort has been put into his arts, he has certainly faced some failures, but most of the time he was successful and achieved highly praised awards. Three of his creations are kept at the Office of the National Museum, Hor-Silpa were his greatest pride of life.

The three paintings are: "Phra Preecha samart Rart Rom-Yen"; "The Miracle of Pair No.2"; and the 3rd painting titled "Buddhanu Sati".

     Achieving such an honour certainly inspires the young artist further to be one of the greatest artist and teacher in the kingdom. Currently, he had am opportunity to design and supervise the construction of the gate for the "Wihara", the place to establish The Sleeping Buddha at Wat Phaphugorn at Udonthani province.This 'Phra non pang Parinippan' is designed and sculptured by  Ajarn Naris Rattanawimol on the marvellous Italian White Carara granite. Then 'Phra Lokuttara' designed and created by Ajarn Chaloemchai Kositphiphat and the 'Thosa Bharamee' picture is under the control of Ajarn Bamroongsak Kongsook. The four are indeed ones of the greatest artists in this era.

     The one who asked him to do the above mentioned job was Mother Piyawan Weerawan. He was very touched by her kindness and her willingness to pass on her knowledge to him. It was his birthday when she requested for him to make the temple gate. It was miraculous in the sense that he was paying respect and offering meals to monks and prayed for his birthday wish that he wanted a job related to Buddhism. It was as if a dream has come true on that very same day. The gate creation project therefore became his greatest birthday present ever. In order to raise the funds for the project, he allowed the licensed printings of 10 of his paintings to be sold to faithful Buddhists and people. The money earned through the fund-raising would also be used to build a Buddha statue. Mr. Suwat worked on the project with happiness and without any pressure and with the support of Mother Piyawan who once told him, 'Whenever you face any opportunities in life, grab it and always put in your best effort to do it flawlessly. Only being able to do that would make you feel that your have truly achieved something". Not only that, Mr. Suwat found that he could really trust his team-mates and they also believed in Mr. Suwat's ability.

     Today, Mr. Suwat has his own arts gallery titled "Ruensilp Sankattiyarat", which is located at 24/6 Moo. 11, Liebkrong Street, Tumbol Nongsamwang, Umper Nongsue, Prathumthani province.

     Mr. Suwat's path of artist is still endless. He still has various opportunities to do good deeds through both imparting on his knowledge and passing on his religious knowledge and belief to others. Those are not only his own pride but the pride of being a true artist. We have such a wonderful teacher like Mr. Suwat who has both the souls of being a true teacher and of a Buddhist at heart. He is able to impart his knowledge and skills to his students, and to leave behind many of his creations in important historic temples and museums for the later generations. It is very fortunate for us to know that there is still an excellent teacher existing in this world.


Phodjanee Teerawanich

Back to Top

  |  Biography  |  Gallery  |  Artist' talk  |  
   
  Copyright © 2007-2013 Thaksinawat.com  All rights reserved.  Create & Maintained by JitdraThanee.com  (best viewed :1024x768 pixels)