 |

กฤษณะ เขียน : 'ศิลปะไทย
.กับความเป็นสากล' (๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๒)


'ตอนส่งงาน'
|
เมื่อครั้งที่ผมเรียนอยู่ที่อินเดีย มีเพื่อนนักศึกษามาจากหลากหลายที่ทั้งอินเดียเอง และจากนานาประเทศ ซึ่งมีความแตกต่างกันทางวัฒนธรรมและประเพณี เพื่อนๆ ชาวอินเดียมักชอบจะมาดูการทำงานของชาวต่างชาติเสมอ
วันหนึ่ง....เพื่อนสาวชาวอินเดียคงทนไม่ได้ หลังจากเฝ้ามองผมทำงานอยู่นาน เธอถามผมว่า "ทำไมคุณทำงาน Traditional style ทำไมไม่ทำงานแบบสากลบ้าง ?" ผมได้แต่มองหน้าเขาแล้วยิ้ม แหะๆ ไม่ได้ตอบอะไรและยังด้านทำงานตามแนวทางของผมต่อไป

'ตอนส่งงาน'
|
เมื่อถึงฤดูกาลส่งงานโดยให้นักศึกษา display ผลงานในที่ๆ เตรียมไว้ให้ ปรากฏว่าผลงานของผม เป็นที่รู้จักมากที่สุด ด้วยเอกลักษณ์ที่ต่างจากผู้อื่น แค่เดินผ่านเหลือบมองก็รู้แล้วว่า โอ้...นี่งานของไอ้หนุ่มไทย โดยไม่ต้องอ่านชื่อเลย ผมเชื่อว่าความเป็นสากลในงานศิลปะ คือการสามารถสำแดงความมีเอกลักษณ์โดยอิงรากทางวัฒนธรรม ความเชื่อ ประเพณี ของตนได้อย่างชัดเจน ความสากลคงไม่ได้เกิดจากการตามกระแส อย่างไม่รู้จบจากมหาอำนาจ ที่คอยจะยัดเยียดความเป็นผู้นำให้เราๆ ท่านๆ เดินตาม นึกถึงคำพูดของน้องที่อินเดียเล่าให้ผมฟังว่า "พี่...ไอ้...(เพื่อนแขกคนหนึ่ง) มันคุยแต่เรื่องงานอเมริกันโมเดอร์น... แม่งยังแดกข้าวด้วยมืออยู่เลย.... เสือกจะเป็นโมเดอร์น" คำพูดขำๆ แต่มันทำให้เราได้คิดอะไรบางอย่าง

'ผมในสตูดิโอ กับเพื่อนผู้ถามคำถาม'
|
หลังจากการส่งงานครั้งนั้นไม่กี่เดือน ผมเห็นเด็กภูฏาน เริ่มนำเอกลักษณ์ศิลปะพื้นถิ่นมาใช้ในงานของเขา งานเขาเริ่มพูดถึงวัฒนธรรมของเขาเอง ผมยืนดูสักพัก เขาหันมายิ้มให้ผม.... ผมยิ้มตอบ "อืม...งานคุณดูสากลขึ้นนะ"
ผมบอกเขาในใจ
M&W
16 ตุลาคม 2552

|
 |